ประวัติตำบล/หมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมาของตำบลกะลุวอ
            สืบเนื่องจากมีพ่อค้าจากตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ได้เดินทางจากตรังกานู  ด้วยเรือสำเภาบรรทุกสินค้า ประเภท ถ้วย ชาม สังคโลก และอื่น ๆ   โดยเดินเรือทางทะเลอันดามัน เข้าสู่จังหวัดนราธิวาส ผ่านแม่น้ำบางนราเข้าคลองยะกัง เพื่อถ่ายสินค้า หลังจากนั้น ได้เดินทางผ่านแม่น้ำบางนราตอนล่างเข้าสู่บ้านกาแนะ  หมู่ที่ 3 ในปัจจุบัน  และผ่านเข้าคลองเล็กๆ  พอเดินทางไปได้สักระยะหนึ่ง  ปรากฏว่าเป็นคลองตัน คนที่อยู่หัวเรือได้ตะโกนบอกว่า กลัว เป็นภาษามาเลย์ ซึ่งหมายความว่า ออก ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็นกลูวอ”  หรือ  กะลุวอ ใจปัจจุบันนี้

ประวัติหมู่บ้านยาบี 
เดิมมีชาวจีนจากจังหวัดปัตตานีครอบครัวหนึ่ง ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้าน   ยาบี ตำบลหนองจิกจังหวัดปัตตานี ได้อพยพเข้ามาบุกเบิกทำสวนยางปลูกมันสำปะหลัง ปลูกสับปะรด ทำการค้ามันสำปะหลังเร่ขายไปในพื้นที่ต่างๆ ต่อมาได้มี 3 ตระกูลใหญ่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในหมู่บ้านนี้และให้เกียรติผู้บุกเบิกซึ่งอพยพมาจากบ้านยาบี โดยใช้ชื่อยาบีเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ ตระกูลใหญ่ 3 ตระกูล ที่เข้ามา คือ ตระกูลโตะเวาะเยะ ตระกูลหะยีเจะหลง และตระกูลเจะเละ และได้ให้นายสือแม ตาเยะ เป็นผู้ใหญ่บ้านยาบี บ้ายยาบี  หมายถึง หมูบ้านแห่งความสันติสุข มีความสามัคคีกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว อีกกระแสเล่าว่า สมัยก่อนได้มีชาวจีนคู่หนึ่งเดินทางมาจากเมืองจีนแผ่นดินใหญ่โดยทางเรือ ได้มาตั้งถิ่นฐานรวมกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ก่อนบ้างแล้ว ชาวจีนที่อพยพมาได้ทำการปลูกมันสำปะหลังเป็นอาชีพบนพื้นที่จำนวนมาก ซึ่งมันสำปะหลังภาษายาวี เรียกว่า อูบีต่อมามีผู้คนเข้ามาซื้อมันสำปะหลังกันมากและเรียก อูบีเพี้ยนกลายเป็น ยาบีและเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งนี้เป็นยาบีจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาสร้างบุกเบิกหมู่บ้าน คือ นายหะยีเจะหลง หะยียูโซะ และนายนิแต นิเลาะ มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายสือแม ตาเย๊ะ

ประวัติของหมู่บ้านกำแพง 
                    บ้านกำแพง  หมู่ที่ 2  ตำบลกะลุวอ  อำเภอเมืองนราธิวาส  จังหวัดนราธิวาส  เหตุที่ได้ชื่อว่า  บ้านกำแพง  นั้น  มีความเป็นมาจากภูเขาลูกหนึ่ง  ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน  เป็นภูเขาที่มีความแปลกเพราะมีลักษณะคล้ายกับ กำแพง ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  จึงได้ชื่อหมู่บ้านนี้ว่า  หมู่บ้านกำแพง  มีการเล่าขานสืบต่อกันมาว่า  กำแพงที่มีลักษณะเป็นเชิงหินทอดยาวหลายร้อยวา  ถือกันว่า  เป็นป้อมปราการของพระยากลันตันที่ทำศึกกับพระยาระแงะ   เมื่อเสร็จศึกจะนำสมบัติถ้วยชามมาเก็บไว้ที่ถ้ำเชิงเขาหิน  เมื่อชาวบ้านจัดงานก็สามารถหยิบยืมถ้วยชามได้  ชาวบ้านถือว่าในถ้ำเทพรักษาอยู่ หมู่บ้านกำแพง แรกเริ่มมีคนจีนเข้ามาทำไม้ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน  ต่อมาในปี  พ.ศ. 2471 เริ่มมีคนอพยพเข้ามาอยู่เพื่อจับจองที่ดินสร้างที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพเริ่มแรกมีครอบครัวอยู่ประมาณ  20  ครอบครัว  และมีมากขึ้นเรื่อยๆ อาศัยอยู่เป็นกลุ่มๆ มีชื่อกลุ่มบ้านเรียกขานแตกต่างกัน ได้แก่  บ้านในบ้าน  , บ้านใหม่ , บ้านเจาะลึก , และบ้านปลักปลาหมอ  ซึ่งชื่อกลุ่มบ้านยังใช้เรียกอยู่จนปัจจุบัน   คนในหมู่บ้านมีความรัก ความสามัคคี   การสัญจรในอดีตใช้เดินเท้าตามรอยเท้าสัตว์และทางน้ำใช้เรือล่องตามแม่น้ำบางนรา   ภาษาพูดดั้งเดิมใช้ภาษาเจ๊ะเหและมีการใช้ภาษามลายูในการติดต่อสื่อสาร   มีสูงอายุเป็นผู้นำของ บ้านกำแพง คือ  พ่อแก่หมวก   ไชยยาวและพ่อเกี้ยว

ประวัติหมู่บ้านกูแบสาลอ
คำว่า กูแบ เป็นภาษายาวี แปลว่า  คลอง    และคำว่า สาลอ เป็นชื่อหมู่บ้านถิ่นเดิม คือหมู่บ้านสาลอในรัฐกลันตัน ประเทสมาเลเซีย แล้วได้อพยพมาอยู่ที่นี่  เมื่อประมาณ 130 ปี ที่ผ่านมา หมู่บ้านนี้มีชื่อว่า บ้านกูแบนีดิงหรือบางทีเรียกว่า กลุวอ (ปัจจุบัน กลุวอเป็นชื่อตำบล) ต่อมามีคนกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งรกรากในหมู่บ้านนี้ ซึ่งอพยพมาจากบ้านสาลอ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย  พื้นที่หมู่บ้านมีลักษณะเป็นป่าทึบ มีต้นไม้ใหญ่มากมาย เส้นทางเดินเป็นเส้นทางแคบ มีสัตว์ร้ายมากมาย มีลำคลองซึ่งมีปลาชุกชุม ผู้ที่อพยพเข้ามาในหมู่บ้านได้แก่ นายหะยีอาแว  นายหะยีเปาะจิ  นายหะยีเปาะซูนุห์  นายโต๊ะกูเซ็ง และ นายอาลี ทั้งหมดไม่ทราบนามสกุล คนกลุ่มนี้เป็นผู้แรกเริ่มเข้ามาเปิดป่าพัฒนาหมู่บ้านและตั้งชื่อบ้านเป็น บ้านกูแบสาลอจนถึงปัจจุบัน

ประวัติหมู่บ้านกาแนะ
             เมื่อประมาณ  200 ปี ก่อนมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้เข้ามาอาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งมีชาวบ้านกลุ่มชื่อ โต๊ะแชแขวงอูมา ต่อมาจากนั้นก็ได้มีการตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้น  คือ  บ้านกือแนะแปลว่า สายรัดเข็มขัด  ซึ่งเป็นนิยมใช้กันในสมัยก่อนซึ่งมีลักษณะเป็นพวงทำด้วยเหล็กหรือโลหะ  อยู่มาไม่นานมีกลุ่มญาติของโตะแชแขวงอูมา ได้เข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นซึ่งกลุ่มคนเล่านี้มีสำเนียงภาษาการพูดที่เพี้ยน ๆ จากที่เรียกชื่อว่า กือแนะ มาเป็นคำว่า กาแนะ มาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติหมู่บ้านจาเราะสะโตร์
ในอดีต นายสะนิ ไสเลาะ และพวกได้อพยพมาจากบ้านไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  เข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพในพื้นที่นี้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  อาชีพในระยะแรกเป็นอาชีพทำสวน ทำไร่ พื้นที่เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสีเขียวชะอุ่มมีต้นไม้ใหญ่มากมาย มีแหล่งน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี มีสัตว์ป่านานาชนิดมากมาย ทั้งลิงช้างเสือเป็นต้น มีลำธารไหลมาจากภูเขาในพื้นที่ลงสู่บริเวณตอนล่าง ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ (ปัจจุบัน เป็นแหล่งน้ำใกล้บ้าน) บริเวณแอ่งน้ำ มีต้นกระท้อนใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง สามารถมองเห็นได้เด่นในพื้นที่มารวมเรียกเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ บ้านจาเราะสะโตร์มาจากคำว่า จาเราะภาษามาลายู แปลว่า ลำธารกับคำว่า สะโตภาษามาลายูแปลว่าต้นกระท้อน”    
                                                                                                                                            ประวัติหมู่บ้านโคกศิลา
โคกศิลาเป็นชื่อของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง เมื่อประมาณ  50  ปีที่ผ่านมาได้มีครอบครัวหนึ่งได้อพยพจาก ต.เกาะสะท้อน  ชื่อนายเจะดาโอ๊ะ เจะฮะมะ เป็นบิดาของนายสตอปา เจะฮะมะ กำนัน ต.กะลุวอ ปัจจุบัน ได้มาบุกเบิกที่ดินทำกินได้พบไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งเปลือกสีขาวมีชื่อว่า ต้นศิรา ชอบขึ้นในที่ดินพรุ  ครอบครัวนี้ได้อาศัยอยู่จนมีบุตรหลานและมีญาติเข้ามาบุกเบิกที่ดินทำกิน  ต่อมาทางราชการได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อ โคกศิลา ในปัจจุบัน

ประวัติหมู่บ้านรอตันบาตู
คำว่า รอตันบาตู เป็นภาษายาวี   รอตัน แปลว่า ต้นหวาย  และ บาตู  แปลว่า หิน  ความเป็นมาคือ มีครอบครัวเป็นชาวมาเลเซียได้เข้ามาบุกเบิกมาทำมาหากินในประเทศไทยในสมัยนั้นพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบที่มีจำพวกสัตว์ที่ดุร้ายหลายชนิดและมีวัชพืชจำนวนหนึ่งที่เยาะมากที่สุดนั้นก็คือจำนวนต้นหวายหินแปลเป็นภาษามาลายูว่า รอตันบาตู

ประวัติหมู่บ้านกาโมแร
                หมู่บ้านกาโมแร เป็นหมู่บ้านที่แยกจากหมู่บ้านกาแนะ หมู่ที่ 3 ตำบลกะลุวอ สาเหตุที่แยกเนื่องจากหมู่บ้านกาแนะมีประชากรเพิ่มขึ้น  ดังนั้น เพื่อต้องการให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้แยกหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2549  ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านเล่ากันมาว่า เดิมมีชาวบ้านกลุ่มเดียวกับหมู่บ้านกาแนะ มาบุกเบิกตั้งหมู่บ้านตั้งแต่สมัย 200 ปีก่อน  ขณะนั้นยังไม่ได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน ต่อมาชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มชื่อว่า โต๊แขวงอูมา ซึ่งเป็นคนที่มีความคิดเฉลียวฉลาดมาก   และเขาได้เรียกชาวบ้านประชุมเพื่อจัดตั้งชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านกือเเนะ   หมายถึง สายรัดเข็มขัดคนสมัยก่อนที่นิยมใช้กันแทนทุคน มีลักษณะต่อเป็นพ่วงทำด้วยเหล็กยาว   และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นทางการหมู่บ้านกาแนะปัจจุบัน  ต่อมาได้แยกหมู่บ้านกาแนะออกเป็น 2 หมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า หมู่บ้านกาโมแร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น